วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนบ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์

ที่มาและความสำคัญของปัญหา

สังคมต่างๆ ย่อมมีประเพณีประจำชาติของตน ซึ่งมีการสั่งสอนและถ่ายทอดต่อกันมาโดยลำดับ ประเพณีใดที่เป็นของดีอยู่แล้วก็จะรักษาเอาไว้เป็นวัฒนธรรมประจำชาติหากไม่ดีก็จะมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาอันเหมาะสม การติดต่อกับคนต่างชาติทั้งชาติตะวันตกและตะวันออกทำให้ไทยได้รับวัฒนธรรมต่างชาติไว้ ทั้งที่ใจและไม่จงใจทำให้เกิดประเพณีแบบใหม่ มีลักษณะเด่นหรือแตกต่างไปจากเดิมบ้าง การรับวัฒนธรรมใหม่นั้นจะมี 2 ลักษณะ คือ รับเอาโดยไม่เปลี่ยนแปลงจากวัฒนธรรมเดิม และรับโดยดัดแปลงไปจากของเดิม ตัวอย่างของการรับเอาประเพณีต่างชาติ มาโดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากของเดิม เพราะเห็นว่าของเขาดีกว่าสะดวกกว่า
ประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของคนไทย แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเพณีเกี่ยวกับครอบครัวหรือ ประเพณีส่วนบุคคล เช่น การเกิด การบวช การแต่งงาน การตาย และการทำบุญอายุ อีกประการหนึ่ง คือ ประเพณีเกี่ยวกับส่วนรวมซึ่งจัดขึ้นเป็นคราวๆ ไปเพื่อทำบุญและเพื่อการรื่นเริงเป็นเทศกาล แต่ละอย่างไป เช่น ตรุษ สารท สงกรานต์ เข้าพรรษาและออกพรรษา
ประเพณี คือ ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคมซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคมของคนไทย ซึ่งได้รับมรดกตกทอดกันมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของสังคมไทย

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
2. เพื่อศึกษาพิธีกรรมของประเพณีเกี่ยวข้องกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
3. เพื่อศึกษาถึงคุณค่าของประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
4. เพื่อศึกษาแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ให้เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน

ขอบเขตของการวิจัย
1. ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรบ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
2.1 ศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
2.2 ศึกษาพิธีกรรมของประเพณีเกี่ยวข้องกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
2.3 ศึกษาถึงคุณค่าของประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
2.4 ศึกษาถึงแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ให้เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน

3. ขอบเขตด้านพื้นที่
บ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
4. ขอบเขตด้านระยะเวลา
กรกฎาคม 2550 - ตุลาคม 2550

ข้อจำกัดในการวิจัย
_

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบถึงประวัติความเป็นมาของประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และ การตาย
2. ทราบถึงพิธีกรรมของประเพณีเกี่ยวข้องกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
3. ทราบถึงคุณค่าของประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
4. ทราบถึงแนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ให้เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน
นิยาศัพท์เชิงปฏิบัติการ
ประเพณี หมายถึง ความประพฤติที่สืบต่อกันมาจนเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ในหมู่คณะ เป็นนิสัยสังคมซึ่งเกิดขึ้นจากการที่ต้องเอาอย่างบุคคลอื่นๆ ที่อยู่รอบๆ ตน หากจะกล่าวถึงประเพณีไทยก็หมายถึง นิสัยสังคมของคนไทย ซึ่งได้รับมรดกตกทอดกันมาแต่ดั้งเดิมและมองเห็นได้ในทุกภาคของสังคมไทย
แบบของการวิจัย
การวิจัยแบบเชิงคุณภาพ
ใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและ การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็น ทางการเป็นวิธีการหลักในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล เน้นการตีความสร้างข้อสรุปแบบนิรนัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร หมายถึง ครอบครัวที่มีภูมิลำเนาอยู่ในหมู่ที่ 6 ชุมชนบ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
หน่วยวิเคราะห์ หมายถึง ครอบครัวจำนวน 30 ครอบครัว ในท้องที่ชุมชนบ้านเหนือ หมู่ที่ 6 ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

การเลือกกลุ่มตัวอย่างและแผนการสุ่มตัวอย่าง
1. ขั้นตอนการเตรียมการ
1.1 การคัดเลือกชุมชน การพิจารณาคัดเลือก หมู่บ้านที่มีความพร้อมของแกนนำชุมชน และกลุ่มเป้าหมายศึกษา วิจัยเกี่ยวกับเรื่องประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
1.2 การสร้างสัมพันธภาพ ในทุกขั้นตอนของโครงการในการคัดเลือกชุมชน จะมีการสร้างความเข้าใจความเป็นกันเอง พูดคุยกันเพื่อให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักวิจัยชุมชนองค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1.3 การคัดเลือกแกนนำชุมชน การคัดเลือกแกนนำชุมชนกับการพูดคุยกับตัวแทน หน่วยงานต่างๆ มาแล้วคณะผู้วิจัยจะได้ข้อมูล เกี่ยวกับบุคคลของหน่วยงาน การคัดเลือกแกนนำชุมชนใช้วิธีการพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการในโอกาสที่ต้องไปทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นไปร่วมกิจกรรมประเพณีต่างๆ แกนนำในชุมชน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสัมภาษณ์ ซึ่งคณะผู้วิจัยสร้างขึ้นเองตาม วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัย โดยเนื้อหาจะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1. ประวัติความเป็นมาของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
ส่วนที่ 2. พิธีกรรมของประเพณีเกี่ยวข้องกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย
ส่วนที่ 3. คุณค่าของประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน
ส่วนที่ 4. แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ให้เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน

การเก็บรวบรวมข้อมูล
การเก็บข้อมูลได้มีการเก็บข้อมูล จากแหล่งต่างๆ โดยแบ่งข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ
1. ข้อมูลปฐมภูมิ ใช้วิธีการทำแบบสัมภาษณ์ที่สร้างขึ้นมาสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 4 ชุด เพื่อสัมภาษณ์หมอทำพิธี และจัดเป็นเวทีประชาคมเพื่อใช้การพูดคุยจากชาวบ้านจำนวน 30 คน เพื่อเล่าถึงประเพณีทั้งสี่ประเภทให้กับผู้วิจัยได้จดบันทึก
2. ข้อมูลทุติยภูมิ ได้มาจากการศึกษาค้นคว้าเอกสาร หนังสืองานวิจัยและวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง

การวิเคราะห์ข้อมูล
เมื่อรวบรวมข้อมูล จากแบบสัมภาษณ์และจากบันทึกในการจัดเวทีประชาคมของชาวบ้าน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และประมวลผลโดยใช้แบบบรรยาย และวิเคราะห์ข้อมูลด้านต่างๆ


จากผลการวิจัยเรื่องประเพณีเกี่ยวกับชีวิตของชุมชนบ้านเหนือ ตำบลหนองหงส์ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช สามารถแยกประเด็นการศึกษาออกเป็น 4 ประเด็นดังนี้
1. ประวัติความเป็นมาของชาวบ้านที่เกี่ยวข้องกับประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ของชุมชนบ้านเหนือนั้นชาวบ้านยังคงอยู่ในวัยกลางคนของชุมชนที่ยังคงให้ความสำคัญและรู้ประวัติความเป็นมาจากอดีตและเห็นความแตกต่างหรือความเปลี่ยนแปลงไปของประเพณีที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านเองแต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงนั้นคือ เยาวชนรุ่นลูกหลานกลับหลงใหลไปตามกระแสจนลืมไปว่าการสืบทอดวัฒนธรรมที่มีการสืบทอดกันมาจากรุ่นปู่ย่าตายายเริ่มจะสูญหายไปหากไม่ได้เรียนรู้หรือสืบทอดด้านประวัติความเป็นมาไว้โดยการร่วมกันจัดเวทีร่วมกันระหว่างชาวบ้าน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน องค์การบริหารส่วนตำบลในการวางแผนด้านประเพณีของตำบลเพื่อเป็นการพลิกฟื้นความเป็นวิถีที่แท้จริงคนในชุมชน
2. พิธีกรรมของประเพณีเกี่ยวข้องกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ด้านพิธีกรรมนั้นทางชุมชน มีปราชญ์ชาวบ้านทั้งสี่พิธีกรรมที่ยังคงเป็นสื่อกลางสืบทอดให้กับลูกหลานแต่เป็นที่น่ากังวลเหมือนกันว่าไม่มีผู้รับถ่ายทอดองค์ความรู้ดังกล่าว ให้ครบทั้งสี่พิธีกรรมไว้ โดยมีการร่วมกันจัดการพูดคุยกับนักปราชญ์ทั้งสี่ท่านเพื่อดำเนินการในด้านการสืบทอดต่อสำหรับผู้ที่มีความสนใจทั้งสี่พิธีกรรม เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลไว้เพื่อไม่ให้สูญหายไปพร้อมกับชีวิตของนักปราชญ์ทั้งสี่ท่าน
3. คุณค่าของประเพณีเกี่ยวกับชีวิตประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และ การตาย ที่มีต่อวิถีชีวิตของชาวบ้าน ภาวะวิกฤตทางด้านประเพณีทั้งสี่ประเภทนั้นสิ่งสำคัญที่ยังคงเป็นปัญหาคือ ชาวบ้านจำนวนมากที่ยังคงไม่เห็นคุณค่าทางด้านวัฒนธรรมทั้งสี่ว่ามีความสำคัญอย่างไร และทำไม่ต้องกลับมาพลิกฟื้นเรียนรู้เพื่อสืบทอดต่อไป ดังนั้นในฐานะที่ทีมผู้วิจัยลงไปศึกษาในครั้งนี้ทำให้ชาวบ้านที่มาร่วมในเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้เริ่มมีการกระตุ้นให้ได้กลับมานั่งคิดและทบทวนกันใหม่ว่าวันนี้เรากำลังหลงลืมความเป็นเอกลักษณ์ของตนเองไปมากแล้ว จึงทำให้ทีมผู้วิจัยเห็นคุณค่าและความสำคัญของประเพณีทั้งสี่เพื่อป้องกันไม่ให้เราโดนกลืนทางวัฒนธรรมไปมากกว่านี้ แต่หากชุมชนเองไม่เห็นคุณค่าสิ่งเหล่านี้ก็ไม่มีความหมายหากเราจะรื้อฟื้น
4. แนวทางการอนุรักษ์ประเพณีการเกิด การบวช การแต่งงาน และการตาย ให้เป็นวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ยั่งยืน
แนวทางการอนุรักษ์นั้นควรมีวิธีการนำไปสู่การปฏิบัติจริงให้มากที่สุด เพราะประเพณียังคงอยู่ได้เพราะคนนำประเพณีมาใช้ในการดำเนินวิถีชีวิตกันอย่างสอดคล้องกันไม่แยกส่วนออกจากกัน เมื่อนั้นประเพณีจะอยู่กับชุมชนตลอดไปและเหนียวแน่นที่แท้จริง

ข้อเสนอแนะ
1. ชาวบ้านควรมีการร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในการรื้อฟื้นความเป็นมาของชุมชนและเก็บไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
2. ชาวบ้านควรมีการส่งเสริมกันด้วยชุมชนเองเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืน
3. ชาวบ้านควรมีการสร้างเครือข่ายด้านประเพณีทั้งสี่ด้านเพื่อให้เกิดความเข้มแข็ง และเป็นที่ยอมรับของสังคมภายนอกต่อไป

วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2551

หัวข้อที่สนใจศึกษา

พิษภัยของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช
พิษภัยของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆมากมาย ทั้งสารพิษที่เป็นรูปผงและของเหลว สารเคมีเหล่านี้ถ้าใช้โดยขาดความระมัดระวังจะทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้ คือ เกษตรกรเอง และประชาชนทั่วไป นอกจากนั้นยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย ตัวอย่างอันตรายจากการเจ็บไข้ได้ป่วยของผู้ใช้สารเคมีโดยขาดความรู้ความเข้าใจและขาดความระมัดระวัง จะได้รับอันตรายในลักษณะเฉียบพลันและพิษแบบเรื้อรัง สารเคมีจะเข้าไปสะสมอญุ่ในร่างกายของผู้ใช้ แล้วจะแสดงอาการในระยะที่ร่างกายได้รับสารพิษเข้าไปถึงระดับอันตราย ซึ่งการสะสมสารเคมีจะป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคประสาท ตับ ไต(สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ,2525) และยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเป็นอัมพาตหรือเป็นโรคมะเร็งได้ในบั้นปลายของชีวิต(ปกรณ์และโกมล,2526)